ช็อตถอดเสื้อเบ่งกล้ามของ โรนัลโด้ ก่อนจะโดนใบเหลืองเป็นของกำนัล
หลังจากที่ คริสเตียโน่ โรนัลโด้ แนวรุกจอมสับซัดจุดโทษเป็นประตูปิดกล่องให้ เรอัล มาดริด ถล่ม แอตเลติโก มาดริด ไป 4-1 เมื่อคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา ก่อนที่เจ้าตัวจะเก็บอาการไม่อยู่วิ่งถอดเสื้อไปดีใจกับเพื่อนร่วมทีมที่มุมธง ก่อนจะได้รับใบเหลืองเป็นของแถมจากกา รถอดเสื้อดีใจ
หลังจากมึนงงอยู่ 1 วันเต็มก็ได้โอกาสถามไถ่เพื่อนๆวงการกีฬาหลายท่าน จึงได้คำตอบและบทสรุปที่พอจะเห็นเค้าลางถึงเหตุและผลที่ ฟีฟ่า ออกกฎ “ถอดเสื้อดีใจแล้วโดนใบเหลือง” ออกมาคือ เรื่องของศาสนา เพราะในบางประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามมีข้อห้ามเรื่องการแต่งกายที่เคร่งครัดอย่างมาก การถอดเสื้อผ้าเห็นผิวหนังเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และถึงขั้นที่สตรีในประเทศนั้นไม่สามารถเข้าชมฟุตบอลได้เลยทีเดียว
ส่วนเหตุการณการถอดเสื้อที่โด่งดังที่สุดในโลกฟุตบอลนั้นต้องย้อนไปเมื่อปี 1999 ในเกมฟุตบอลโลกหญิงนัดชิงชนะเิลศ ระหว่างทีมชาติสหรัฐฯ กับ จีน Brandi Chastain (แบรนดี้ คริสเตียน) ซัดจุดโทษตัดสินในลูกสุดท้ายช่วยให้ทีมสหรัฐฯ เอาชนะ จีน ไปได้ 5-4 คว้าแชมป์บอลโลกหญิงไปครองก่อนที่เธอจะฉลองชัยด้วยการถอดเสื้อเห็นบราชั้นใน ซึ่งภาพดังกล่าวกลายเป็นข้อถกเถียงกันอย่างมากโดยเฉพาะประเทศชาวมุสลิม ต่างออกมาแอนตี้กับพฤติกรรมดังกล่าว เพราะการแข่งขันกีฬาฟุตบอลนั้นถ่ายทอดทั่วโลก และควรจะเป็นสิ่งที่ชาวโลกทุกคนควรดูได้ แต่สรุปท้ายเรื่องนี้ฟ่ฟ่า ก็ยังไม่มีกฎข้อบังคับถึงเรื่องถอดเสื้อดีใจอย่างจริงจัง
ส่วนเหตุผลอื่นนอกจากเรื่องศาสนาแล้ว ยังมีเรื่องของข้อความจากเสื้อตัวในของนักเตะที่มักจะมีข้อความ ล่อแหลม เสียดสี ไม่เหมาะสม เรื่องการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีเรื่องรอยสักของนักเตะ ที่อาจจะเป็นตราสัญลักษณ์ทางลัทธิ ซึ่งล้วนแต่สิ่งที่ไม่เหมาะสมกับผู้ชมโดยเฉพาะเด็กเยาวชมที่รับชมการแข่งขันในแมตช์นั้น ซึ่งแน่นอนว่าทีมงานการถ่ายทอดไม่มีทางจะเซนเซอร์ ถ้อยคำ หรือสัญลักษณ์ บนตัวนักเตะได้ทันท่วงที
แต่อย่างไรก็ดีในเดือนมิถุนายนปี 2004 ฟีฟ่า ก็ออกมาประกาศกฎและบทลงโทษเรื่องการถอดเสื้อดีใจออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนในศึกยูโร 2004 ที่โปรตุเกส ว่านักเตะที่เจตนาถอดเสื้อ จะต้องรับใบเหลืองเป็นการลงโทษถึงการกระทำดังกล่าว ซึ่กฎนั้นครอบคลุมถึง การถอดเสื้อโบกเหนือหัว โยนเสื้อทิ้ง ถลกเสื้อคลุมหัว ล้วนจะโดนใบเหลืองทั้งสิ้น และกฎดังกล่าวจะครอบคลุมการแข่งขันฟุตบอลทั่วโลกภายใต้การดูแลของฟีฟ่า คำถามคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 1999 จนถึงปี 2004 มีการถอดเสื้อฉลองชัยมากมายหลายครั้ง จากหลายๆลีกทั่วโลกแล้วทำไม ฟีฟ่า ถึงทิ้งระยะเวลาให้เนินนานแบบนี้
มีบทความหนึ่งของนักข่าวชาวสหรัฐฯ ได้เขียนระบุเหตุผลที่ดูจะมีน้ำหนักและน่าสนใจที่ทำให้ ฟีฟ่า เขียนกฎเรื่องการถอดเสื้อแข่งออกมาเป็นลายลักลักษณ์อักษร ก็เพราะเหตุผลเรื่อง “สปอนเซอร์” เป็นสำคัญ เพราะช็อตการยิงประตูการเฉลิมฉลอง การดีใจ ของนักเตะเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บริษัท 3 ขีด บริษัท เครื่องหมายถูก ก็ต้องการให้ช็อตๆนั้น มีโลโก้ของตัวเองติดตาเป็นภาพข่าว ติดตาแฟนบอลไปตลอด โดยเฉพาะเหตุการณ์ล่าสุดกับช็อตดีใจของ โรนัลโด้ ที่เจ้าตัวถอดเสื้อเบ่งกล้าม โยนเสื้อทิ้งเล่นเอาสปอนเซอร์เสื้อแข่งของ เรอัล มาดริด นั้นเซ็งอยู่ไม่น้อย แต่ผลิตภัณฑ์รองเท้าสตั๊ดของ โรนัลโด้ คงได้แต่ยิ้มเยาะที่เห็น โรนัลโด้ โยนเสื้อแข่งทิ้งแบบไม่ไยดี
และอีกเหตุการณ์ที่ บริษัท 3 ขีด เซ็งไม่น้อยคือ ช็อตการดีใจของ อันเดรส อิเนียสต้า กับจังหวะดีใจถอดเสื้อหลังยิงประตูชัยให้ทีมชาติสเปนเอาชนะฮอลแลดน์ได้ในศึกฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ ซึ่งแน่นอนว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพประวัติศาสตร์วงการฟุตบอลไปอีกนานแต่กลับไม่มีโลโก้ บริษัท 3 ขีดเลยแม้แต่น้อย มิหนำซ้ำ บริษัท 3 ขีด ยังเป็นสปอนเซอร์หลักของศึกฟุตบอลโลกที่ฟีฟ่าเป็นผู้รับรองแต่ไม่สามารถโชว์โลโก้ของลูกค้ารายใหญ่ได้ สรุปสุดท้ายแล้ว ติช เต ฉ่อ เชื่อว่าการแสดงออกของแต่ละคนนั้นย่อมแต่งต่างกันไป แต่การดีใจที่มีแนวโน้มผิดกฎหรือผิดศีลธรรม กินกว่าคำว่าเหมาะสมย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ควร เพราะกีฬาฟุตบอลเป็นกีฬาของมนุษยโลกและสิ่งเหล่านี้ผลกระทบต่อเยาวชนโดยตรง
No comments:
Post a Comment